"จันทบุรี" เป็นต้นแบบการลำเลียงผู้ป่วยด้วยอากาศ Sky doctor เขตสุขภาพที่ ๖ โซนภูเขา ๔ จังหวัด
28 ม.ค. 2563, 17:50
วันที่ 28 มกราคม 2563 ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า ที่ สนามบินท่าใหม่ 3141 ฝูงบินทหารเรือ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เรืออากาศเอก นายแพทย์อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เป็นประธาน โครงการประชุมเขิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการแพทย์ฉุกเฉินการลำเลียง ผู้ป่วยทางอากาศ จังหวัดจันทบุรี จังหวัดสระแก้ว จังหวัดตราด และจังหวัดระยอง ปีงบประมาณ 2563 เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการแพทย์ฉุกเฉินการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศจังหวัด
นายแพทย์วรา เศลวัตนะกุล รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่มีประสิทธิภาพนั้น บุคลากรมีบทบาทมากที่สุด ในการปฏิบัติการรวมถึงการประสานงานเชื่อมโยงกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ในการปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ สามารถปฏิบัติงานในระบบได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว มีความรู้และประสิทธิภาพ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เป็นส่วนสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและผลักดันการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ในเขตสุขภาพที่ ๖ ได้ให้ความสำคัญของการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในเขต EEC โซนจังหวัดจันทบุรี จังหวัดสระแก้ว จังหวัดตราด และจังหวัดระยอง เพื่อให้มีการเชื่อมประสานการทำงานร่วมกับหน่วยปฏิบัติการด้านการแพทย์เกี่ยวกับการลำเสียงผู้ป่วยทางอากาศ ที่สามารถเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี ได้รับมอบหมายจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติให้ดำเนินการพัฒนาระบบ Sky doctor เป็นต้นแบบการลำเลียงผู้ป่วยด้วยอากาศ เขตสุขภาพที่ ๖ โซนภูเขา ๔ จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด จังหวัดสระแก้ว และจังหวัดระยอง จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าว กิจกรรมประกอบด้วยการบรรยายภาคทฤษฎีและฝึกปฏิบัติตาม Static and dynamic Exercise for HEMS จัดให้มีสถานการณ์จำลองและการสาธิตการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ ด้วยความร่วมมือจากกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราดสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์และสถานที่ฝึกสนามบินท่าใหม่ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาศักยภาพทีมปฏิบัติการทางการแพทย์ในการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศและการเชื่อมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในแต่ละพื้นที่ให้เกิดความมั่นใจต่อการให้บริการระบบการแพทย์ฉุกเฉินของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ ผู้เข้าร่วมประชุมและสังเกตการณ์ประกอบด้วย บุคลากรที่ปฏิบัติการในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัด จันทบุรี สระแก้ว ตราด และระยอง ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ชลบุรี และสมุทรปราการ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ เวชกิจฉุกเฉิน สั่งกัดโรงพยาบาลทั้งภาครัฐบาลและเอกชน กองร้อยพยาบาลค่ายตากสินจันทบุรี ตำรวจตระเวนชายแดนที่จังหวัดจันทบุรี รวมทั้งสิ้น ๙๐ คน และได้รับการสนับสนุนวิทยากรจากกองทัพเรือภาคที่ ๑ กรมแพทย์ทหารเรือ กองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โรงพยาบาลสมิติเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โรงพยาบาลระยองและโรงพยาบาลพระปกเกล้า และที่สำคัญในการฝึกภาคปฏิบัติในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์และสถานที่ในการฝึกปฏิบัติการทางการแพทย์ในการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศจากกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด