เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



"2 รมช." เกษตรฯ-แรงงาน เยี่ยมโรงงานยางชุมนุมสหกรณ์บึงกาฬ มอบ สปก.4-01


4 ต.ค. 2563, 09:16



"2 รมช." เกษตรฯ-แรงงาน เยี่ยมโรงงานยางชุมนุมสหกรณ์บึงกาฬ มอบ สปก.4-01




เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 3 ต.ค.ที่ชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางจังหวัดบึงกาฬ ต.ท่าสะอาด อ.เซกา จ.บึงกาฬ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และศาสตราจารย์ ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน ได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมชมโรงงานยางพารา ที่ติดขัดปัญหาหลายอย่าง เช่นระบบไฟฟ้า บ่อบำบัดน้ำเสีย เพื่อให้กำลังใจแก่พี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางและสมาชิกชุมนุมสหกรณ์ที่มีการเริ่มผลิตกรวยยางพาราเพื่อจำหน่ายให้กับหน่วยงานราชการและเอกชนนำไปใช้วางกรวยตามถนนป้องกันอุปบัติเหตุและเสาหลักลายนำทางหรือเสาลายทางโค้งที่ทำด้วยยางพาราป้องกันการสูญเสียทรัพย์สินและชีวิต ขณะรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์เสียหลังชนเสาลายข้างทาง ที่ของเดิมทำด้วยปูนสีเมนต์ แต่ที่ผลิตขึ้นทำด้วยยางพาราจะสามารถยืดหยุ่นได้ ไม่เป็นอันตรวยต่อร่างกายและทรัพย์สินมาก โดยมีกรกต ธำรงวงศ์สวัสดิ์ รอง ผวจ.บึงกาฬ นายนิพนธ์ คนขยัน นายก อบจ.บึงกาฬ หัวหน้าส่วนราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม.ประชาชนจำนวนมากให้การต้อนรับ จากนั้นทั้ง 2 รมช.ได้เดินชมโรงงานพร้อมกับเทน้ำยางลงเบ้าหลอมผลิตกรวยยางและเสาหลักนำทาง ก่อนที่จะเดินออกมารับฟังการกล่าวต้อนรับจากนายกรกต รอง ผวจ.การรับฟังปัญหาอุปสรรคของการเปิดโรงงาน จากนายแน่น จำปาศรี ปธ.ชุมนุมสหกรณ์ฯ ซึ่งระบุว่าการสร้างโรงงานครั้งแรกไม่ได้มีงบมาด้วยคือ 1.ระบบน้ำและบ่อบำบัดน้ำเสีย 2.ระบบไฟฟ้าภายในโรงงาน 3.ค่าเช่าจากกรมธนารักษ์สูงเกินที่ปีละ 1.9 ล้านบาท

 

 



รอ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรละสหกรณ์ กล่าวว่า ที่ได้เดินทางมาที่นี่วันนี้ก็เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้แถลงต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคมปี 2562 ว่ารัฐบาลต้องการเห็นให้พี่น้องประชาชนคนไทยมีความเป็นอยู่ที่มั่นคงมั่งคั่งและอย่างยั่งยืนเป้าหมายสำคัญ และมารับฟังปัญหาจากชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยาง เพื่อนำไปแจ้งให้กับรัฐบาลได้รับทราบและหาทางช่วยเหลือให้เดินได้ต่อไป โดยเฉพาคุณภาพชีวิตของพี่น้องชาวจังหวัดบึงกาฬทั้ง 8 อำเภอจะให้มีความอยู่ดีกินดีขึ้นทุกท่าน จังหวัดบึงกาฬพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่ผมกำกับดูแลอยู่ นั่นคือพื้นที่ของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ผมนั่งอยู่บนเฮลิคอปเตอร์มารู้ทันทีว่าที่นี่เข้าเขตบึงกาฬ เพราะเห็นต้นยางพาราเต็มไปหมด หากพี่น้องชาวจังหวัดบึงกาฬทั้ง 8 อำเภอยางราคาดีขึ้นความเป็นอยู่ก็จะดีขึ้นด้วยจริงใช่ไหมครับ ผมได้มอบนโยบายให้กับเลขาสำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดได้จัดสรรมอบสิทธิการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ดินที่เราเรียกว่า ส.ป.ก.4-01 ได้แก้ไขระเบียบการโดยออกเป็นประเภทต่างๆ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในเรื่องการเพิ่มมูลค่าในที่ดิน สปก.ซึ่งนายกรัฐมนตรี ท่านพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 3 วันที่ผ่านมาสดๆ ร้อนๆ เพื่อที่น้องจะได้ใช้ประโยชน์และต่อยอดในที่ดิน สปก.สำคัญที่สุดท่านจะสามารถเข้าถึงแหล่งทุน ไม่ใช่กู้ได้เฉพาะ ธ.ก.ส.เท่านั้น แต่ต่อไปสถาบันการเงินทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นธนาคารกองทุนต่างๆ พี่น้องก็ใช้ ป.ส.ก.นี้กู้ได้ ผมยืนยันว่าเรามาเพื่อแก้ปัญหาไม่ใช่มาแล้วสร้างความแตกแยกให้กับพี่น้องประชาชน อะไรก็ตามต้องทำให้เกิดประโยชน์กับพี่น้องคนไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งพี่น้องคนไทยที่เป็นเกษตรกร เพราะพูดเสมอว่าผมจะทำหมอนจากยางพารา ต้องการใช้ยางพาราให้มันเยอะที่สุดยางพารามาจะได้ราคาดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทำยางรถยนต์ ทำกรวยยาง ทำเสาหลังลายและอื่นๆ อีกมากมาย หน่วยงานราชการจะต้องมาซื้ออุปกรณ์เหล่านี้จากสถาบันการเกษตรเท่านั้น โดยไม่ต้องไปหาซื้อจากพ่อค้านายทุนฝรั่งต่างประเทศ

                ด้าน ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รมช.แรงงานกล่าวว่า หลังจากผลกระทบจากโรคระบาดไวรัสโควิด19 ทำให้พี่น้องที่ถูกเลิกจ้างจากบริษัทก็มาฝึกงานกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงานเราฝึกเย็บจักร กลุ่มสตรีอาจจะทำกิจการเกี่ยวกับหัตถกรรมหรือว่าร้านค้าเล็กๆ ที่เราอยากจะทำก็กู้เงินจากธนาคารออมสินได้คนละ 5,000 บาท ซึ่งก็สามารถเข้ามาช่วยดูในเรื่องของการเพิ่มผลิตคุณภาพแรงงาน โดยกระทรวงแรงงานจะได้ส่งทีมงานมาช่วยดูแลฝึกฝนให้มีแรงงานที่ได้คุณภาพอีกด้วยนอกจากนี้ ยังได้มีพิธีมอบ ส.ป.ก.4-01 ให้กับเกษตรกรรายใหม่ ยังมีพิธีมอบป้ายอาสาสมัครแรงงาน ป้ายทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ให้กับผู้ที่ผ่านการทดสอบแล้ว

 

 


นายนิพนธ์ คนขยัน กล่าวว่า ที่ผ่านมาทางชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางจังหวัดบึงกาฬประสบปัญหาในการก่อสร้างโรงงานทั้ง 9 โรง โดยเงินที่ได้รับมาจำนวน 193 ล้านบาท ที่ทางกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบด้วยกลุ่มย่อยที่ 1 อุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย เลย บึงกาฬ ได้มีมติยกให้จังหวัดบึงกาฬ

โดยมอบให้ อบจ.บึงกาฬ ซึ่งแก้ปัญหายางพาราตกต่ำถูกจุดและเป็นรูปธรรม มาสร้างโรงงาน 9 โรง แต่เมื่อมีการเคาะราคาสู้กันแล้วจึงมีเงินเหลืออยู่ 30 ล้านบาท ซึ่งเงินส่วนนี้สามารถจะนำไปใช้ดำเนินการทั้งระบบน้ำประปา บ่อบำบัดน้ำเสีย และระบบไฟฟ้าได้สบาย แต่ทางจังหวัดบึงกาฬ โดยผู้ว่าราชการสมัยนั้นไม่เรียบดำเนินการ ปล่อยให้หมดเวลาจึงไม่สามารถดำเนินการได้ทันเวลา แต่เมื่อดำเนินการก่อสร้างแล้ว อบจ.บึงกาฬ ไม่สามารถเป็นผู้ดูแลหาประโยชน์ได้ตามที่มติกลุ่มจังหวัดได้มีมติเอาไว้ เพราะมีระเบียบกฎหมายระบุว่า เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จผู้เป็นเจ้าของดูแลคือกรมธนารักษ์ เมื่อชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางจะต้องการเช่ามาทำประโยชน์กรมธนารักษ์ตั้งราคาไว้ที่ 1.9 ล้านบาทต่อปี ซึ่งชุมนุมสหกรณ์ไม่มีความสามารถดำเนินการได้ เพราะยังขาดไฟฟ้าและน้ำประปา ตลาดทั้งบ่อบำบัดน้ำเสียก็ไม่มี ถังแอมโมเนียก็ไม่มี จึงขอต่อรองกับธนารักษ์จังหวัดบึงกาฬ ก็ลดให้ปีละ 2.3 แสนบาท แต่ให้ปีเดียวเท่านั้น ส่วนปีหน้าต่อไปก็กลับไปที่ราคาปีละ 1.9 ล้านบาทเท่าเดิม ส่วนการแก้ไขปัญหาไฟฟ้านั้น อบจ.บึงกาฬได้ติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าและเดินสายไฟภายในแล้ว จึงได้ฝากเรียนปัญหาที่เกิดขึ้นให้กับท่าน รอ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรฯและ ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รมช.แรงงาน ไปแก้ไขปัญหาช่วยแล้ว สุดท้ายต้องขอขอบคุณการยางแห่งประเทศไทย หรือกยท.ที่ปรึกษาชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางฯ และได้มอบผลการวิจัยจากการนำน้ำยางข้นมาทำกรวยยางให้ชุมนุมสหกรณ์ฯ บึงกาฬ และมอบเงิน 300,000 สนับสนุนเป็นทุนต่อไป

 

 

 

 






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.