เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



กระจ่าง ! สาเหตุฤดูร้อนแต่ลมหนาวมาเยือนคืออะไร - กรมอุตุฯ ชี้ยังหนาวได้อีก 


3 เม.ย. 2565, 13:51



กระจ่าง ! สาเหตุฤดูร้อนแต่ลมหนาวมาเยือนคืออะไร - กรมอุตุฯ ชี้ยังหนาวได้อีก 




ตั้งแต่ที่กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเตือนภัยลักษณะอากาศ อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน และฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ (มีผลกระทบถึงวันที่ 3 เมษายน 2565) ส่งผลให้หลายภาคในประเทศไทยอุณหภูมิลดลง และมีฝนตก 

ล่าสุด (3 เม.ย.65) นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รองประธานกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของวุฒิสภา โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว "วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ Weerasak Kowsurat"อธิบายถึงสภาพอากาศแบบนี้ว่า  

 



อากาศที่เย็นลงในไทยแบบวูบวาบนี้ สิ่งที่ต้องเร่งดูแล นอกจากคนให้มีที่นอนที่อบอุ่นเพียงพอแล้ว สัตว์เองก็จะประสบปัญหาความหนาวเย็นที่เค้าอาจปรับตัวไม่ทันเช่นกัน
นี่คือผลของภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง หรือ climate change ที่เกิดจากอุณหภูมิภายในขั้วโลกทั้งสอง เกิดอาการหนาวน้อยลงในบางจุด หรือบางจุดมาจากไออุ่นนอกพื้นที่เบียดรุกเข้าสู่แดนขั้วโลก น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ทำให้กระแสลมที่เคยพัดวนทวนเข็มนาฬิกาด้วยความเร็วเฉลี่ย 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ที่ปกติหมุนพัดที่ความสูง 10กิโลเมตรจากพื้นดินรอบเขตขั้วโลกมานับล้านปีเกิดสะดุด


กำแพงลมนี้เป็นเสมือนปราการธรรมชาติที่เคยขังไอเย็นไว้ในขั้วโลก บัดนี้เริ่มมีจุดที่มันยืดย้วยออกเป็นห้วงๆ เพราะไออุ่นจากมหาสมุทรและแผ่นดินทวีปบางย่านที่มากขึ้นลอย ไปกระทบกำแพงลม ทำให้ลมหมุนถูกเบี่ยงเบน อ้อมออกจากเส้นทางเดิมๆทีนี้ไอเย็นก็ขยายออกตามลงมา แล้วแต่ว่ารอยยืดนั้นไปเกิดในจุดไหนพอจุดนั้นยืดย้วย ก็จะดันเอาอากาศชุดที่ติดกับมันให้ดันกันต่อไปสู่เขตอื่น แม้แต่เขตอากาศของเส้นศูนย์สูตรความเยือกเย็นจึงถูกดันมาเป็นทอดๆปรากฏการณ์นี้ เรียกว่า Polar Vortexแม้จะย้วยมาเพียงระยะเวลาสั้นๆ แต่ก็ชี้ให้เราตระหนักว่า โลกใบนี้เล็กกว่าที่เราเคยรู้จักสิ่งที่เกิดกับภาวะโลกร้อน ที่ขั้วโลกเหนือ สะเทือนมาถึงเส้นศูนย์สูตรได้อย่างรวดเร็วเหมือนกัน

ในทางกลับกัน กำแพงลมเย็นที่ถูกไออุ่นเบียดให้แคบลงก็แปลว่าจะมีไอร้อนเบียดเข้าหาขั้วโลกเช่นกัน ปีนี้เราคงได้เห็นสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงที่จะเป็นผลตามมา วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา กรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม #เมษาหน้าหนาว"


 






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.