เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



ดร.ปริญญา ผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีศาสตร์ ม.มหิดลฯ แนะ จนท.อุทยานฯ สำรวจชั้นหินในถ้ำ เพื่อกำหนดจุดระดับความเสี่ยง


11 ธ.ค. 2565, 10:29



ดร.ปริญญา ผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีศาสตร์ ม.มหิดลฯ แนะ จนท.อุทยานฯ สำรวจชั้นหินในถ้ำ เพื่อกำหนดจุดระดับความเสี่ยง




จากกรณีหินสไลด์ทับสะพานทางเดินศึกษาธรรมชาติ อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์ ต.เขาโจด อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี เป็นเหตุทำให้นายสิขกพงษ์ กระแจะจันทร์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์ ประกาศปิดเส้นทางศึกษาธรรมชาติ บางช่วง ของเส้นทางศึกษาธรรมชาติถ้ำธารลอดน้อย - ถ้ำธารลอดใหญ่ ตั้งแต่น้ำตกไตรตรึงษ์ชั้นที่ 1 จนถึงถ้ำธารลอดใหญ่ เมื่อวันที่ 7 ธ.ค.ที่ผ่านมาตามที่ได้เสนอข่าวไปแล้วนั้น

 

ล่าสุดวันนี้ 10 ธ.ค.65 ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า ดร.ปริญญา พุทธาภิบาล อาจารย์และทีมนักวิจัยฯสาขาธรณีศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี เปิดเผยว่า การสไลด์ของหินตามที่ลาดชัน ร่องเขา หรือเขา ลาดเนินเขา หรือลาดในถ้ำ เป็นการเลื่อนไถลของเศษหิน ดิน ตามแรงดึงดูดของโลก จากที่สูงสู่ที่ต่ำกว่า

 

  โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องสำคัญๆ ได้แก่ มุมเอียงของความลาดชันนั้นๆ สภาพอากาศ รวมถึงฤดูกาล  การเพิ่มปริมาณน้ำใน ดินทำให้น้ำหนักดินเพิ่มและแรงดันน้ำสูงขึ้นจนขาดสมดุลความหนาแน่นของป่าไม้ ต้นไม้ รากพืชช่วยยึดหน้าดิน  ชนิดหิน  เนื้อหิน องค์ประกอบการวางและรอยแตกในชั้นหิน หินปูน เกลือหิน ซึ่งละลายน้ำที่เป็นกรดอ่อนๆได้ดี ทำให้เกิดการขยาย รอยแตกเป็นถ้ำใต้ดิน เพดานถ้ำพนังถ้ำอาจพังลงได้ง่ายขึ้น

 

 ดร.ปริญญา พุทธาภิบาล กล่าว่า ส่วนกรณีเกิดเหตุหินสไลด์จากภูเขาลงมาทับสะพานทางเดินศึกษาธรรมชาติ ของอุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์นั้น พบว่าเศษหินที่สไลด์เป็นเศษหินก้อนอิสระที่แยกออกจากกัน ถ้ำธารลอด เป็นธารน้ำใต้ดิน (subterranean stream) ที่มีธรรมชาติการไหลแบบน้ำผิวดิน ไหลจากที่สูงไปที่ต่ำ ถ้าชันมากก็พาเศษ ตะกอนขนาดต่างๆลงไปได้มาก อัตราการผุพังก็มีส่วนช่วยให้หินหลุดจากกันเป็นชิ้นเป็นก้อนได้ง่ายและมากขึ้น จุดเสี่ยงต่อการสไลด์คงไม่เท่ากันตลอดพื้นแนวถ้ำ

 

 ซึ่งเจ้าหน้าที่อุทยานฯ สามารถสังเกตและระบุตำแหน่งเสี่ยงภัยทางกายภาพได้ไม่ยาก อัตราเสี่ยงจะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อปริมาณน้ำในถ้ำมากขึ้น และยังมีโอกาสเกิดการยุบตัวของเพดานถ้ำผนวกเข้าไปด้วย ถามว่าจะเตือนนักท่องเที่ยวอย่างไรนั้น เจ้าหน้าที่ควรสำรวจธรณีวิทยาของชั้นหิน การวางตัว รอยแตก รอยแยก และลักษณะโครงสร้างของหิน เศษหิน เพื่อกำหนดระดับความเสี่ยงในจุดต่างๆ ตลอดแนวถ้ำ

 

 นักท่องเที่ยวควรหลีกเลี่ยงการเดินทางเที่ยวถ้ำในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะช่วงกลางและปลายฤดูฝน เมื่อดินและซอกหินอิ่มตัวด้วยน้ำ ทำให้การพังทลายของชั้นดินและเศษหินเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น การดูสถิติปริมาณน้ำฝนในพื้นที่และพื้นที่ๆเชื่อมโยงก็สำคัญ ต้องพึ่งการช่างสังเกตของเจ้าหน้าที่อุทยานฯเป็นเกราะป้องกันให้นักท่องเที่ยวได้อีกชั้นหนึ่งด้วย

 



 


 


คำที่เกี่ยวข้อง : #กาญจนบุรี  




Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.